ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

มาตรา ๒๐๖  ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

มาตรา ๒๐๗  ผู้ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

มาตรา ๒๐๘  ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2550
จำเลยแต่งกายเป็นภิกษุแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งยืนอยู่บนฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ โดยเท้าจำเลยอยู่บนส่วนหนึ่งของพระบาทพระพุทธรูปยกมือขวาขึ้นเลียนแบบพระ พุทธรูป แสดงท่าทางล้อเลียนถลึงตาอ้าปาก นอกจากจะเป็นการไม่เคารพต่อพระพุทธรูปแล้ว จำเลยยังได้แสดงตนเสมอกับพระพุทธรูป จึงเป็นการกระทำอันไม่สมควรและเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามพุทธศาสนา จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2544
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแต่งกายเป็นภิกษุในศาสนาพุทธโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุในศาสนาพุทธซึ่งเป็นการกระทำความผิด เกี่ยวกับศาสนา ตาม ป.อ. มาตรา 208 และจำเลยที่ 1 ได้สมคบกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 วางแผนการเพื่อฉ้อโกงประชาชน อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 210 การกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันได้ ที่สำคัญก็คือสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2543
ตามพระ ราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การสละสมณเพศเพราะถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญามีได้ 3 กรณี คือ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้า อาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุมพนักงานสอบสวนมี อำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่งหรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับ ตัวไปควบคุม พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและ พระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้อีกกรณีหนึ่ง ในคดีก่อนที่จำเลยถูกจับกุมในข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบ ครอง พนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และพาจำเลยไปที่วัด บ. เพื่อให้จำเลยสึกแต่จำเลยไม่ยอมสึก และเจ้าอาวาสวัด บ. ก็ไม่ยอมสึกให้ พนักงานสอบสวนจึงพาจำเลยกลับไปที่สถานีตำรวจและจัดให้จำเลยลาสิกขาบทต่อหน้า พระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจ ดังนี้ จำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุเนื่องจากจำเลยไม่ สมัครใจลาสิกขาบทและการดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศกระทำโดยพลการของเจ้า พนักงานตำรวจ เมื่อจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อพ้นจากการคุมขังโดยได้รับ การปล่อยชั่วคราวแล้ว ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2534 นั้น การสละสมณเพศเพราะถูกจับในข้อหาคดีอาญาแยกได้เป็น 3 กรณี คือ 1. เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้า อาวาสไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุมพนักงานสอบสวนดำเนินการให้สละสมณเพศได้ 2. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเห็นว่าไม่ควรปล่อยชั่วคราวและไม่ควร มอบตัวให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม ก็ดำเนินการ ให้สละสมณเพศได้ และ 3. พระภิกษุรูปนั้นไม่ได้สังกัด อยู่ในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด ก็ดำเนินการ ให้สละสมณเพศได้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 ร้อยตำรวจโท ส. นำจำเลยไปมอบให้พนักงานสอบสวนโดยมีก. แจ้งว่าจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบและยุ่งเกี่ยวกับ พ.ภริยาของ ก. พนักงานสอบสวนจึงนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อ สอบสวนจำเลย เมื่อไม่ได้ความชัดว่าขณะนั้นจำเลยจำพรรษา และสังกัดวัดใดแล้ว จำเลยได้ยินยอมสึกจากการเป็นพระภิกษุ โดยเปลื้องจีวร ออกแล้ว แต่งกายด้วยชุดขาว เมื่อกรณีเห็นได้ แจ้งชัดว่าจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาและพนักงาน สอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งจำเลยมิได้สังกัด ในวัดใดวัดหนึ่ง พนักงานสอบสวนจึงได้ดำเนินการให้จำเลย สละสมณเพศ โดยนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุ ผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อทำการสึกจำเลยจากการเป็นพระภิกษุ การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวร ออกแล้ว แต่งกายด้วยชุดขาว เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้วเพราะพระภิกษุ ที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือต้องปาราชิก จะขาดจากการ เป็นพระภิกษุทันทีโดยเจ้าคณะเขตหรือเจ้าคณะตำบลหรือ เจ้าคณะแขวงสามารถให้พระภิกษุรูปนั้นสึกได้โดยไม่ต้อง กล่าวคำอำลาสิกขา การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวร ออกเมื่อ ต่อสู้คดี ย่อมไม่เป็นเหตุให้จำเลยกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก ดังนั้น การที่ต่อมาจำเลยกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุจึงเป็นการกระทำ ที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699/2541
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 208เพราะการกระทำของจำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 38 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย

จำเลยเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและก่อนจำเลยจะมีพรรษาครบ 10 พรรษา จำเลยได้ทำหน้าที่ดังเช่นอุปัชฌาย์โดยจำเลยบวชให้แก่ผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นพระผู้ใหญ่ในการบวช รวมทั้งเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขาร โดยจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตามกฎมหาเถรสมาคมซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 23 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุที่บัญญัติว่าการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองสงฆ์ ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 7 (พ.ศ.2506) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 4 บัญญัติว่า พระอุปัชฌาย์หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธานและรับผิดชอบในการให้ บรรพชาอุปสมบทตามบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคม และข้อ 12 บัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและเฉพาะภายในเขตตามที่บัญญัติ ไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับดัง กล่าว การบวชของผู้ที่จำเลยบวชให้ จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบ และผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา ผู้ที่จำเลยบวชให้จึงต้องมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 208 ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้บวชและทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่เป็นผู้มอบ เครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 86

พระธรรมวินัยมีถ้อยคำและความหมายอย่างไร เป็นปัญหาข้อเท็จจริง

กฎมหาเถรสมาคมซึ่งออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยน แปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้นและมิได้ขัดต่อพระธรรม วินัย เมื่อกฏมหาเถรสมาคมดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 23จึงใช้บังคับได้ บุคคลทุกคนจำเป็นต้องอนุวัตปฏิบัติตาม จะโต้เถียงว่าขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและไม่ยอมปฏิบัติตามไม่ได้

แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 38จะบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่าการใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่ เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 บัญญัติขึ้นโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มีศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อนบุคคลทุกคนจึงต้องปฏิบัติตาม กฎหมายให้ต้องตามเจตนารมณ์

จำเลยบวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกายเมื่อวันที่ 7พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกายซึ่งแสดงว่า จำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ไม่ปรากฏว่าจำเลยถูกกลั่น แกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 18 บัญญัติให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบ ร้อยและไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผล ประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้การที่จำเลยขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคม และแยกตัวมาตั้งพุทธสถานสันติอโศก แล้วดำเนินการบวชบุคคลอื่นเป็นพระภิกษุ โดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย แม้จะเป็นเวลานานเท่าใด การประกาศของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยกับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและ ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2539
คณะสงฆ์ผู้พิจารณาชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ให้จำเลยลึกจากการเป็นพระภิกษุจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยดัง กล่าวต่อคณะสงฆ์การยื่นอุทธรณ์จะกระทำโดยชอบหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งได้ลึกจากการเป็นพระภิกษุไปแล้วกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีกการที่จำเลย แต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุและไม่ยอมออกไป จากวัดตามคำสั่งของเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา208,368วรรคแรกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา38(1),45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2533
ความผิดที่กระทำต่อเนื่องอาจเป็นความผิดหลายกระทงได้ หากได้ความว่าผู้กระทำผิดมีเจตนาหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดที่สมบูรณ์ แยกจากกันได้ จำเลยฉีกธงชาติไทยอันมีความหมายถึงรัฐเพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ และยังใช้ไม้ตีทุบเกศเศียร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนอันเป็นการเหยียดหยาม ศาสนา อันเป็นคนละเจตนา แต่ละเจตนาเป็นความผิดในตัวเองแยกจากกันเป็นความผิดคนละกระทง แม้กระทำต่อเนื่องกัน และแต่ละกระทงดังกล่าวคือเจตนาในการทำให้เสียทรัพย์เช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดหลายบทในแต่ละกระทงกล่าวคือ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 118,360,90กระทงหนึ่ง และมาตรา 206,360 ทวิ,90 อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2533
ความผิดที่กระทำต่อเนื่องอาจเป็นความผิดหลายกระทงได้ หากได้ความว่าผู้กระทำผิดมีเจตนาหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดที่สมบูรณ์ แยกจากกันได้ จำเลยฉีกธงชาติไทยอันมีความหมายถึงรัฐเพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ และยังใช้ไม้ตีทุบเกศเศียร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนอันเป็นการเหยียดหยาม ศาสนา อันเป็นคนละเจตนา แต่ละเจตนาเป็นความผิดในตัวเองแยกจากกันเป็นความผิดคนละกระทง แม้กระทำต่อเนื่องกัน และแต่ละกระทงดังกล่าวคือเจตนาในการทำให้เสียทรัพย์เช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดหลายบทในแต่ละกระทงกล่าวคือ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 118,360,90กระทงหนึ่ง และมาตรา 206,360 ทวิ,90 อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2530
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานก่อความวุ่นวายในการกระทำพิธีกรรม ตามศาสนาหรือไม่นั้น การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นอิหม่ามและบิหลั่นโดยชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งถึงขณะเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

จำเลย ที่ 2 ประกาศทางเครื่องขยายเสียงต่อหน้าสัปปุรุษทั้งหลายในมัสยิดโดยใส่ความโจทก์ ว่าเป็นอิหม่ามและบิหลั่นเถื่อนได้หลอกลวงสัปปุรุษมานานแล้ว เป็นการทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ทั้งมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม มาตรา328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียว แล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้

คืนเกิดเหตุมีการชุมนุมกันกระทำพิธีสวดมนต์ทำบุญฉลองกระดูกผู้ตายตามพุทธศาสนา บนหอสวดมนต์ จำเลยขึ้นมาส่งเสียงเอะอะอื้อฉาวซ้ำยังกล่าวว่า พระนี่ยุ่งจริง พระไม่มีความหมายแล้วจำเลยนั่งลงใช้มือตบกระดาน 7-8 ครั้งและชักปืนพกออกจากเอวมาถือไว้ หันปากกระบอกปืนมาทางพระ แล้วปืนตกลงยังพื้นหอสวดมนต์ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ถึงแม้ผู้ที่ไปชุมนุมกันจะไม่มีปฏิกิริยาวุ่นวายขึ้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354 - 1355/2515
จำเลยยิง พ. ตายในบริเวณวัดและไล่ยิง ว. ไปจนถึงโรงธรรมในเวลาที่ยังไม่มีการประชุมศาสนิกชนหรือกระทำพิธีกรรมทาง ศาสนาถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาก่อให้เกิดความวุ่นวายในที่ประชุมศาสนิกชนการ กระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207